|
|
|
|
|
แนะนำวิทยาลัย -
ข้อมูลวิทยาลัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช เป็นวิทยาลัยพยาบาลแห่งแรกในส่วนภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาล ลำดับที่ 2 ของกระทรวงสาธารณสุข เดิมชื่อ “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย” สังกัดกองโรงพยาบาล ส่วนภูมิภาค เปิดทำการครั้งแรกวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 โดยการบริหารงานของโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลพุทธชินราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 เปลี่ยนมาสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยพยาบาลพุทธชินราช”
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานนามใหม่เป็น “วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช”สังกัดสถาบันพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และในปีพ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามใหม่เป็น“สถาบันพระบรมราชชนก”
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสถาบันพระบรมราชชนก จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ชื่อ "พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562" และตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ มาตรา 31 และ 32 ว่าด้วยการบริหารงานระดับคณะ คณบดี รองคณบดีและคุณสมบัติของคณบดี และ มาตรา 33 ว่าด้วย คณะกรรมการการประจำคณะ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการประจำคณะ มาตรา 35 ว่าด้วยการบริหารระดับวิทยาลัย ในการประชุมสภาสถาบันครั้งที่ 1/2562 วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 จึงมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานระดับคณะและระดับวิทยาลัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก โดยมีมติเห็นชอบโครงสร้างสถาบันให้มีคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีวิทยาลัยพยาบาลในสังกัด 30 แห่งเป็นส่วนราชการในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อให้การดำเนินการของคณะพยาบาลศาสตร์เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาทางการพยาบาลและพัฒนาบุคลากรทางสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข โดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชเป็นวิทยาลัย 1 ใน 30 แห่งที่สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก |
|
|
|
|
|
|
|
1. นายแพทย์เบนทูล |
บุญอิต |
พ.ศ. 2492 – 2501 |
2. นางผกา |
บุญอิต |
พ.ศ. 2502 – 2506 |
3. นายแพทย์จำลอง |
มุ่งการดี |
พ.ศ. 2506 – 2512 |
4. นายแพทย์อุดม |
สุวัจนานนท์ |
พ.ศ. 2512 – 2516 |
5. นางแฉล้ม |
พวงจันทร์ |
พ.ศ. 2516 – 2533 |
6. นางสาวปานจิต |
เครื่องกำแหง |
พ.ศ. 2533 – 2541 |
7. นางสาววรรณดา |
มลิวรรณ์ |
พ.ศ. 2541 – 2549 |
8. นางสาวพจนา |
ปิยะปกรณ์ชัย |
พ.ศ. 2550 – 2551 |
9. นางนภาดล |
สีหพันธุ์ |
พ.ศ. 2551 – 2553 |
10. ดร.เพลินตา |
พรหมบัวศรี |
พ.ศ. 2554 – 2555 |
11. นางจรวยพร |
ทะแกล้วพันธุ์ |
พ.ศ. 2555 – 2556 |
12. ดร.สุภาเพ็ญ |
ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ |
พ.ศ. 2556 – 2559 |
13. นางเกษร |
คงแขม |
พ.ศ. 2559 – 2561 |
14. ดร.วรรณภา |
ประทุมโทน |
พ.ศ. 2561 – 2564 |
15. ผศ.ดร.อัศนี |
วันชัย |
พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จัดเป็นสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม ค 2 สถาบันเฉพาะทางที่เน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ตามประกาศมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตพยาบาลตอบสนองความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข และประเทศ โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบัน จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) จำนวนหน่วยกิต 124 หน่วยกิต เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาเรียนเต็มเวลา 4 ปี ปีการศึกษา 2565 (ปีงบประมาณ 2566) วิทยาลัยฯ มีนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี รวม 501 คน มีบุคลากรทั้งหมด จำนวน 111 คน ลาศึกษาต่อ 6 คน คงปฏิบัติงานจริง 105 คน ประกอบด้วย สายสอนที่เป็นข้าราชการ จำนวน 47 คน พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 คน และ จ้างเหมาบริการ จำนวน 6 คน โดยมีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 27 คน คุณวุฒิปริญญาโท จำนวน 24 คน และข้าราชการสายสนับสนุน จำนวน 50 คน เป็นข้าราชการ จำนวน 2 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 7 คน พนักงานราชการ จำนวน 3 คน พนักงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 6 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 5 คน และลูกจ้างเหมาบริการ จำนวน 27 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2565) |
|
|
|
|
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช เชื่อว่า การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล โดยการบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการ การวิจัย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งการส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จะส่งผลให้บัณฑิตมีความสามารถทางวิชาชีพพยาบาลและมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน |
|
|
|
|
“เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำระดับอาเซียนในการสร้างผู้นำ นวัตกรรม และองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะชุมชน ภายในปี 2570” ความหมาย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จะเป็นผู้นำการผลิตบัณฑิตพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ ให้มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพระดับอาเซียน และสร้างให้บัณฑิตเป็นผู้นำด้านสุขภาพ สามารถสร้างหรือใช้นวัตกรรมและองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน |
|
|
|
|
"สร้างบ้าน สร้างคน สร้างชุมชน สร้างสุข" |
|
|
|
|
- ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
- วิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ
- ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน
- ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย
- บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลสู่องค์กรสมรรถนะสูง
|
|
|
|
|
“มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีจิตอาสา พัฒนาคุณธรรม” |
|
|
|
|
“วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” |
|
|
|
|
สร้างคนจากชุมชนเพื่อตอบสนองต่อระบบสุขภาพชุมชน |
|
|
|
|
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการการดูแลสุขภาพ (Excellent Center) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กำหนดให้มีการดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการการดูแลสุขภาพ (Excellent Center) การดูแลสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง:เบาหวาน |
|
|
|
|
พฤติกรรมคุณธรรม ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช กำหนดพฤติกรรมคุณธรรม ของนักศึกษา ๓ ประเด็นคือ “ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีความรับผิดชอบ ” |
|
|
|
|
ดอกเหลืองอินเดีย ทั้งนี้ได้มีการตั้งชื่อใหม่ว่า “ดอกเบนทุกา” โดยมีที่มาของชื่อดังกล่าวจากชื่อของคุณพ่อเบนทูล และคุณแม่ผกา บุญอิต ผู้ก่อตั้งวิทยาลัย |
|
|
|
|
สัญลักษณ์ของวิทยาลัยพยาบาลเป็นอักษร สอเสือและวอแหวน ไขว้กันเป็นรูปดอกบัวซึ่งเป็นพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อักษร สอ เป็นสีแดง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ อักษร วอ มีสีขาวเป็นสีแห่งวิชาชีพพยาบาล เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ ความมีเมตตา กรุณา และมีคุณธรรม รูปดอกบัวสีเหลืองทองเป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา ความสว่างไสว ความเจริญรุ่งเรื่อง ความยึดมั่นในคุณธรรม มีแถบโบว์ด้านล่างระบุชื่อวิทยาพยาบาลบรมราชชนนี และมีชื่อพุทธชินราชอยู่ด้านล่างแถบ |
|
|
|
|
อํานาจหนาที่ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช |
|
อํานาจหนาที่ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช “วิทยาลัย” ในพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2562 บัญญัติไวในมาตรา 3 หมายความวา สวนราชการในสังกัดคณะ มีหนาที่จัดการเรียนการสอน การวิจัย การใหบริการทางวิชาการและทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม และไดกําหนดหนาที่ตาม มาตรา 8 ดังนี้ (1) ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรใหสอดคลองกับแนวนโยบายแหงรัฐ เพื่อใหมีความรูความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสํานึกตอสังคม และเพื่อใหมีศักยภาพในการเรียนรูดวยตนเอง (2) จัดการศึกษา วิจัย สงเสริม สนับสนุนการวิจัย เพื่อสรางหรือพัฒนาองคความรู และนําความรูนั้นไปใชเพื่อประโยชนในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ (3) พัฒนาองคความรูดานวิทยาศาสตรสุขภาพใหมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการใหเปนที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ (4) สงเสริมใหเกิดโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตามความตองการของชุมชน (5) ใหบริการทางวิชาการแกสังคมโดยเนนความรวมมือกับชุมชน (6) ใหบริการดานการแพทยและการสาธารณสุข (7) สงเสริมและทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมตาม
ประกาศสถาบันพระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 เรื่อง การกําหนดหนาที่และอํานาจของสวนราชการภายในสถาบันพระบรมราชชนก ไดกําหนดใหวิทยาลัยในคณะพยาบาลศาสตรมีหนาที่และอํานาจดังนี้ 1) ดําเนินการจัดทําแผนยุทธศาสตรและแผนงานการเรียนการสอน บริหารวิชาการ บริหารหลักสูตร การพัฒนาและการบริการนักศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษาทุกหลักสูตร จัดวิทยบริการอิเล็กทรอนิกสเพื่อใหไดบัณฑิตที่มีคุณภาพไดมาตรฐาน 2) ดําเนินการผลิตและเผยแพรผลงานวิชาการ งานวิจัย งานสรางสรรคนวัตกรรม และการจัดการความรูเพื่อสรางหรือพัฒนาองคความรูและนําความรูนั้นไปใชประโยชน 3) ใหบริการทางวิชาการแกสังคมและบริการทางการแพทยและการสาธารณสุขที่ตอบสนองตอความตองการของระบบสุขภาพและกระทรวงสาธารณสุข 4) สงเสริมและทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมไทยและภูมิปญญาทองถิ่น มีหนาที่จัดการเรียนการสอน การวิจัย การใหบริการทางวิชาการ 5) ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของหรืองานอื่นใดที่สถาบันพระบรมราชชนกมอบหมาย |
|
|
|
|
|
|